อีสานโนซอรัส อรรถวิภัชน์ชี


อีสานโนซอรัส อรรถวิภัชน์ชิ



เป็นไดโนเสาร์กินพืชพวกซอโรพอตที่เก่าแก่ที่สุด มีขนาดใหญ่ คอและหางยาว เดินสี่ขา ตัวอย่างต้นแบบพบกระดุกสันหลังส่วนคอ กระดูกสันหลัง กระดูกหาง กระดูกเซฟรอน กระดูกซี่โครง กระดูกรองแผ่นอกขวา กระดูกสะบักไหล่ขวา และกระดูกขาหลังซ้ายท่อนบน ต่อมาได้พบกระดูกขาหน้าท่อนบนเพิ่มเติม ทำให้สามารถประมาณรูปร่างขนาดและความยาวของไดโนเสาร์ชนิดนี้ได้ประมาณ 13 ถึง 15 เมตร พบในชั้นหินทรายอายุ ประมาณ 210 ล้านปี\n เป็นไดโนเสาร์กินพืช อันดับ Saurischia อันดับย่อย Sauropdomorpha อันดับแยกย่อย Sauropoda จากชั้นหินของหมวดหินน้ำพอง ยุคไทรแอสซิกตอนปลาย (Lata Norian-Rhaetian) จังหวัดชัยภูมิ\n ชื่อสกุล “อีสาน” มาจากภาษาไทยหมายถึงภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และคำว่า “sauros” เป็นภาษากรีก หมายถึงสัตว์เลื้อยคลาน ส่วนชื่อชนิดตั้งขึ้นเพื่อเป็นเกียรติแต่ นายปรีชา อรรถวิภัชน์ อดีตอธิบดีกรมทรัพยากรธรณี



ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

กินรีไมมัส

สิรินธรน่า โคราชเอนซิส