บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก กุมภาพันธ์, 2019

ราชสีมาซอรัส สุรนารีเอ

รูปภาพ
ราชสีมาซอรัส สุรนารีเอ ราชสีมาซอรัส สุรนารีเอ  ( Ratchasimasaurus suranareae )  เป็นไดโนเสาร์ประเภทกินพืช จัดอยู่ในกลุ่มที่มีสะโพกแบบนก ( ออร์นิโธพอด )  กลุ่มเดียวกับอิกัวโนดอน  พบกรามล่างซ้าย ในชั้นหินกรวดมนปนปูน  หมวดหินโคกกรวด  ซึ่งอยู่ในสมัยแอปเทียน (Aptian)  ยุคครีเทเชียสตอนต้น  หรืออายุประมาณ 100 ล้านปีก่อน แหล่งที่พบคือบริเวณสระน้ำของหมู่บ้านโป่งแมลงวัน ตำบลโคกกรวด อำเภอเมือง  จังหวัดนครราชสีมา  การค้นพบนี้ เป็นผลงานวิจัยร่วมกันของนักวิจัยจากสถาบันวิจัยไม้กลายเป็นหินฯ  มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา  และพิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์ฟูกูอิ [2]  ประเทศญี่ปุ่น คณะผู้วิจัยได้ให้ชื่อสกุลของไดโนเสาร์นี้ว่า "ราชสีมาซอรัส" ตามชื่อแบบสั้นของจังหวัดนครราชสีมา ซึ่งเป็นแหล่งค้นพบ และให้ชื่อเฉพาะชนิดพันธุ์ว่า "สุรนารีเอ" ตามชื่อของท้าวสุรนารี วีรสตรีของจังหวัดนครราชสีมา แต่เป็นที่น่าสังเกตว่า ไดโนเสาร์นี้ ไม่ได้วิจัยโดย นักไดโนเสาร์ (Dinosaurologist) โดยตรง

สิรินธรน่า โคราชเอนซิส

รูปภาพ
สิรินธรน่า โคราชเอนซิส สิรินธรน่า โคราชเอนซิส ไดโนเสาร์สกุลใหม่ และ ชนิดใหม่ของโลกโดยชื่อสกุล"สิรินธร" เป็นพระนามของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ผู้ทรงสนพระทัยส่งเสริมสนับสนุนการศึกษาวิจัยและอนุรักษ์ซากดึกดำบรรพ์ อายุประมาณ 115 ล้านปีก่อน ระบบนิเวศเป็นแบบกึ่งแห้งแล้ง โดยอิกัวโนดอนต์สิรินธรน่า มีความแตกต่างจากอิกัวโนดอนต์ 2 สกุล ที่พบในโคราชมาก่อน คือสกุลราชสีมาซอรัส และสยามโมดอน เช่น มีขากรรไกรล่างที่มีอัตราส่วนระหว่างความยาวและความสูงน้อยกว่าราชสีมาซอรัส หรือมีขากรรไกรบนทรงต่ำหรือลาดเอียงมากกว่าสยามโมดอน ไดโนเสาร์อิกัวโนดอนต์ จัดเป็นไดโนเสาร์กินพืช ที่มีกระดูกสะโพกแบบนก โดยมีขนาดค่อนข้างใหญ่ ยาวกว่า 6 เมตร สูงระดับสะโพก 2 เมตร น้ำหนักประมาณ 1 พันกิโลกรัม หรือ 1 ตัน ต่างจากไดโนเสาร์กินพืชพวกซอโรพอด หรือพวกคอยาวหางยาวขนาดใหญ่แบบสัตว์เลื้อยคลาน ชื่อภูเวียงโกซอรัสสิรินธรเน ที่พบในจ.กาฬสินธุ์และขอนแก่น เมื่อปี พ.ศ. 2537 ไดโนเสาร์ในกลุ่มอิกัวโนดอนต์นี้ พบมากกว่า 60 สกุล เพราะมีวิวัฒนาการต่อเนื่องมานับ 100 ล้านปี และพบกระจายทั่วโลก ลักษณะเด่นมีฟันคล้ายฟันอีกัวน...

อีสานโนซอรัส อรรถวิภัชน์ชี

รูปภาพ
อีสานโนซอรัส อรรถวิภัชน์ชิ เป็นไดโนเสาร์กินพืชพวกซอโรพอตที่เก่าแก่ที่สุด มีขนาดใหญ่ คอและหางยาว เดินสี่ขา ตัวอย่างต้นแบบพบกระดุกสันหลังส่วนคอ กระดูกสันหลัง กระดูกหาง กระดูกเซฟรอน กระดูกซี่โครง กระดูกรองแผ่นอกขวา กระดูกสะบักไหล่ขวา และกระดูกขาหลังซ้ายท่อนบน ต่อมาได้พบกระดูกขาหน้าท่อนบนเพิ่มเติม ทำให้สามารถประมาณรูปร่างขนาดและความยาวของไดโนเสาร์ชนิดนี้ได้ประมาณ 13 ถึง 15 เมตร พบในชั้นหินทรายอายุ ประมาณ 210 ล้านปี\n เป็นไดโนเสาร์กินพืช อันดับ Saurischia อันดับย่อย Sauropdomorpha อันดับแยกย่อย Sauropoda จากชั้นหินของหมวดหินน้ำพอง ยุคไทรแอสซิกตอนปลาย (Lata Norian-Rhaetian) จังหวัดชัยภูมิ\n ชื่อสกุล “อีสาน” มาจากภาษาไทยหมายถึงภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และคำว่า “sauros” เป็นภาษากรีก หมายถึงสัตว์เลื้อยคลาน ส่วนชื่อชนิดตั้งขึ้นเพื่อเป็นเกียรติแต่ นายปรีชา อรรถวิภัชน์ อดีตอธิบดีกรมทรัพยากรธรณี

กินรีไมมัส

รูปภาพ
กินรีไมมัส กินรีไมมัส   ( อังกฤษ :  Kinnareemimus ) เป็นชื่อที่ตั้งขึ้นมาอย่างไม่เป็นทางการของ ไดโนเสาร์ สกุลหนึ่งที่ยังไม่ได้รับการบรรยายลักษณะ ( โนเมน นูดัม ) ของไดโนเสาร์ เทอร์โรพอด พบในหินทราย หมวดหินเสาขัว ยุคครีเทเชียส  จากหลุมขุดค้นที่ 5  อุทยานแห่งชาติภูเวียง   อำเภอเวียงเก่า   จังหวัดขอนแก่น  ลักษณะกระดูกที่ได้มีความละม้ายคล้ายคลึงกับไดโนเสาร์พวก ออร์นิโธมิโมซอเรียน  หลักฐานที่พบเป็นเพียงกระดูกอุ้งตีนข้อที่สามที่มีสภาพที่ไม่สมบูรณ์แต่มีลักษณะของพินชิ่งด้านข้างที่เด่นชัดซึ่งพบได้ใน  ออร์นิโถมิโมซอร์   ไทรันโนซอรอยด์   ทรูดอนติดส์  และ  ครีแนกนาธิดส์  หากมีอายุ ยุคครีเทเชียส ตอนต้นจริง จะถือว่าเป็นออร์นิโถมิโมซอร์รุ่นแรกๆที่มีความเก่าแก่กว่าที่เคยพบเห็นมา ชื่อกินรีไมมัส ได้รับการตีพิมพ์ครั้งแรกโดย  ริวอิชิ คาเนโกะ  ( Ryuichi Kaneko ) ด้วยชื่อว่า "Ginnareemimus" ในปี ค.ศ. 2000 ทั้งนี้ยังไม่ถือว่าเป็นสิ่งตีพิมพ์ทางวิชาการ ต่อมา Buffetaut et al, 2009 ได้ศึกษากระดูกหลายชิ้น ประกอบด้วยกระดูกหัวหน่...

ซิตตะโกซอรัส

รูปภาพ
ซิตตะโกซอรัส ซิตตะโกซอรัส ( อังกฤษ :  En:Psittacosaurus ) หรือ ไดโนเสาร์ปากนกแก้ว มีชีวิตอยู่ใน ยุคครีเตเชียส ตอนต้น พบได้ใน ทวีปเอเชีย  และ ทวีปยุโรป  เป็น สัตว์กินพืช  2 เท้าที่มีขนาดเล็ก เพราะมีความ ยาวลำตัวเพียง 2 เมตร กะโหลกศีรษะแคบ กระดูกแก้มมีลักษณะคล้ายเขา ตาและรูจมูกอยู่ค่อน ข้างสูง จะงอยปากมีลักษณะงองุ้มคล้ายปากของนกแก้ว จึงทำให้มันได้ชื่อว่า "ไดโนเสาร์นกแก้ว" หน้าตาของมันไม่ค่อยดุร้ายเหมือนไดโนเสาร์ตัวอื่น ๆ ในตระกูลเดียวกัน Psittacosaurus เป็นหนึ่งในตระกูล Ceratopsians แต่สายพันธ์ุใกล้เคียงกับ Triceratops มากกว่า ในภายหลัง ได้มีการค้นพบไดโนเสาร์ปากนกแก้วชนิดใหม่ ที่หมวดหินโคกกรวด  อำเภอคอนสวรรค์   จังหวัดชัยภูมิ  ซึ่งเป็นการค้นพบซากฟอสซิลไดโนเสาร์ปากนกแก้วครั้งแรกของ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้  จึงได้มีการตั้งชื่อให้กับไดโนเสาร์ปากนกแก้วชนิดใหม่นี้ว่า "ซิตตะโกซอรัส สัตยารักษ์กี" เพื่อเป็นเกียรติแด่ นเรศ สัตยารักษ์  ซึ่งเป็นผู้ค้นพบซากฟอสซิลดังกล่าว

สยามโมซอรัส สุธีธรนี

รูปภาพ
 สยามโมซอรัส สุธีธรนี  สยามโมซอรัส สุธีธรนิ : เป็นไดโนเสาร์เทอโรพอดในยุคครีเทเชียสตอนต้นประมาณ 130 ล้านปี ความยาวประมาณ 7 เมตร มีฟันที่มีลักษณะคล้ายฟันจระเข้ กินพืชและกินสัตว์น้ำจำพวกปลาเป็นอาหาร ตั้งชื่อเพื่อเป็นเกียรติแก่ นายวราวุธ สุธีธร อดีตผู้อำนวยการสำนักวิจัยซากดึกดำบรรพ์และพิพิธภัณฑ์ธรณีวิทยา ผู้มีส่วนสำคัญในการสำรวจพบซากดึกดำบรรพ์ ไดโนเสาร์ในประเทศไทย สยามโมซอรัส สุธีธรนี    เป็นไดโนเสาร์ เทอโรพอด  ขนาดกลาง พบครั้งแรกที่หลุมขุดค้นที่ 1 ที่ ภูประตูตีหมา อุทยานแห่งชาติภูเวียง   อำเภอเวียงเก่า   จังหวัดขอนแก่น  ชิ้นส่วนตัวอย่างต้นแบบเป็นฟัน 9 ซี่ มีลักษณะคล้ายฟันจระเข้ เป็นรูปกรวยยาวเรียว ค่อนข้างตรง และโค้งเล็กน้อยในแนวด้านหลังของฟัน บนผิวของฟันมีร่องและสันนูนเล็กๆตามแนวความยาวของตัวฟันด้านละ 15 ลายเส้นโยงจากฐานของตัวฟันไปยังส่วนของยอดฟันห่างจากส่วนปลายสุดประมาณ 5 มิลลิเมตร แต่ไม่มีลักษณะเป็นหยักแบบฟันเลื่อย ความยาวของตัวฟันทั้งหมด 62.5 มิลลิเมตร ลักษณะฟันดังกล่าวไม่เคยมีรายงานการค้นพบจากที่ใดๆในโลกมาก่อน จึงพิจารณาให้เป็นสกุล...

สยามโมดอน นิ่มงามมิ

รูปภาพ
สยามโมดอน นิ่มงามมิ สยามโมดอน นิ่มงามมิ (Siamodon nimngami) เป็นไดโนเสาร์  ออร์นิโธพอด  กลุ่มที่เรียกว่า อิกัวโนดอนเทีย (Iguanodontia) พบชิ้นส่วนกระดูกขากรรไกรบนด้านซ้าย (PRC-4), ฟันจากขากรรไกรบนเดี่ยวๆ 1 ซี่ (PRC-5), และกระดูกส่วนสมองด้านท้ายทอย (PRC-6) จาก แหล่งขุดค้นบ้านสะพานหิน  ตำบลสุรนารี อำเภอเมืองนครราชสีมา  จังหวัดนครราชสีมา  โดยผู้ที่พบคือ  นายวิทยา นิ่มงาม   [2]  พบฟันและกระดูกไดโนเสาร์ ในหินกรวดมนปนปูน  หมวดหินโคกกรวด ยุคครีตาเชียสตอนต้น  มีอายุประมาณ 125 - 113 ล้านปีมาแล้ว สยามโมดอน นิ่มงามมิ มีลักษณะของกระดูกขากรรไกรบนเป็นรูปสามเหลี่ยมหน้าจั่ว ที่มียอดสามเหลี่ยมไม่สูงนัก ซึ่งมีความยาวทางด้านหน้าสามเหลี่ยม กับด้านหลังสามเหลี่ยมเกือบเท่าๆ กัน คือมีความยาวของขากรรไกรบน 230 มิลลิเมตร และมีความสูง 100 มิลลิเมตร , มีส่วนโป่งของพื้นผิวด้านในของขากรรไกรบน เป็นแนวยาวที่เด่นชัด , มีฟันของขากรรไกรบน ประมาณ 25 ซี่ ซึ่งมีสันอยู่ตรงกลางตามแนวยาวของฟันจำนวน 1 สันที่เด่นชัดมาก และบางทีอาจมีสันเล็กๆ บางๆ อยู่ด้านข้างของ...

ภูเวียงโกซอรัส สิรินธรเน

รูปภาพ
ภูเวีย งโกซอรัส สิรินธรเน ภูเวียงโกซอรัส สิรินธรเน   ( ชื่อวิทยาศาสตร์ :  Phuwiangosaurus sirindhornae ) หมายความว่า "สัตว์เลื้อยคลานยักษ์แห่ง ภูเวียง " เป็นชื่อสกุลของไดโนเสาร์ที่พบใน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ของประเทศไทย ใน หมวดหินเสาขัว  อายุราว ยุคครีเตเชียส ตอนต้น ประมาณ 130 ล้านปีมาแล้ว เป็นไดโนเสาร์ ซอโรพอด  ( sauropod  - ไดโนเสาร์กินพืชคอยาว) ชนิดแรกที่บรรยายลักษณะจากประเทศไทย จัดอยู่ในกลุ่ม Titanosaur ซึ่งเป็นซอโรพอดขนาดกลาง ความยาวประมาณ 15-20 เมตร โดย ตัวอย่างต้นแบบ  (type specimens) พบที่ ภูเวียง อำเภอภูเวียง  ( อำเภอเวียงเก่า  ในปัจจุบัน)  จังหวัดขอนแก่น  เมื่อปี  พ.ศ. 2525  และได้รับ การบรรยายลักษณะ เมื่อปี  พ.ศ. 2537  ( ค.ศ. 1994 ) พบกระดูก ภูเวียงโกซอรัส สิรินธรเน  จากหลายแหล่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยเฉพาะแหล่ง  วัดสักกะวัน   ภูกุ้มข้าว   อำเภอสหัสขันธ์   จังหวัดกาฬสินธุ์ (ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของ พิพิธภัณฑ์สิรินธร   ศูนย์ศึกษาวิจัยและพิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์ภูกุ้มข้าว...

ออร์นิโทไครัส

รูปภาพ
    * ออร์นิโทไครัส *  ออร์นิโทไครัส ( Ornithocheirus)  ความหมาย มือนก ช่วงเวลา: ต้นยุคครีเทเชียส การจัดกลุ่ม: เทอโรซอร์ ลักษณะทั่วไป: ออร์นิโทไครัสมีขนาดใหญ่โตมาก มันสูงถึง  3  เมตรเมื่อยื่นด้วยสี่ขา หัวของมันยาวเป็นครึ่งหนึ่งของความยาวทั้งหมด จะงอยปากยาวและกว้าง นิ้วที่สีที่ยื่นยาวออกมานั้นรองรับปีกเอาไว้ มันบินได้ไกลหลังจากบินไกลแล้วมันมักหลบใต้ร่มไม้เพื่อระบายความร้อนออกจากปีก มันอาศัยกระแสลมร้อนในการบินขึ้นสูงและร่อนอยู่บนนั้น ดังนั้นในบางครั้งมันกระพือปีกเพียงหนึ่งครั้งก็บินต่อไปได้ไกลกว่า  50  กิโลเมตร โดยปกติมันจะบินไปมาอย่างไม่มีจุดหมายปลายทาง ทว่าเมื่อฤดูจับคู่มันจะกำหนดทิศทางแล้วบินไป เนื่องจากน้ำหนักตัวที่เบาและมีปีกที่กว้างถึง  12  เมตร ทำให้มันเป็นเครื่องร่อนชั้นเยี่ยมเลยทีเดียว อาหาร: กินเนื้อ น้ำหนัก:  100  กิโลเมตร ความยาว:  10-20  เมตร แหล่งอาศัย: ทวีปยุโรป  

แองคิโลซอรัส

รูปภาพ
 แองคิโลซอรัส แองคิโลซอรัส    เป็นไดโนเสาร์ที่ใหญ่ที่สุดในสกุล  แองคิโลซอร์  อาศัยอยู่ใน ยุคครีเตเชียส  ใน ทวีปอเมริกาเหนือ  โครงกระดูกของ แองคิโลซอรัส ที่ค้นพบยังไม่สมบูรณ์ แองคิโลซอรัส เป็นไดโนเสาร์ที่มีลักษณะในแบบสกุล  แองคิโลซอร์ ที่มีน้ำหนักตัวหนักมีเกราะแข็งหุ้มทั่วทั้งตัวมันอึดมาก และมีลูกตุ้มขนาดใหญ่(ลักษณะคล้ายกับรังผึ้ง)สำหรับไว้ป้องกันตัวจากนักล่าในยุคนั้นอย่าง  ไทรันโนซอรัส ลักษณะ นักวิทยาศาสตร์ได้ให้ความยาวของ แองคิโลซอรัส ประมาณ6.25 (20ฟุต) - 9เมตร (30 ฟุต) ความสูงถึงสะโพก1.7 เมตร (5.5 ฟุต) มีน้ำหนักตัว 6 ตัน มีรูปร่างลำตัวที่กว้างมาก ขาหลังยาวกว่าขาหน้า มีกระดูกยื่นออกมาจากร่างกายเป็นเกราะป้องกันตัวชั้นดี กินพืชเป็นอาหาร มีฟันขนาดเล็กไว้สำหรับบดเคี้ยวพืช ปากมีลักษณะคล้ายนกแก้ว ลูกตุ้มขนาดใหญ่ หางของแองคิโลซอรัสที่มีลูกตุ้มขนาดใหญ่ ลูกตุ้มขนาดใหญ่ของ แองคิโลซอรัส เป็นส่วนกระดูกที่ยื่นออกมาจากหาง โดยมีกระดูกสันหลังส่วนบริเวณหางข้อที่เจ็ดรองรับน้ำหนักทั้งหมด มีเส้นเอ็นหนาติดกับกระดูกสันหลังส่วนหาง เส้นเอ็นเห...